ปศุสัตว์จังหวัดสงขลา รณรงค์ 5 มาตรการสำคัญในการรับมือโรคอุบัติใหม่ โรคลัมปีสกิน ในโค กระบือ Lumpy Skin Disease (LSD)


                 นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กำหนด 5 มาตรการสำคัญ ควบคุมโรคลัมปีสกิน ในโค กระบือ Lumpy Skin Disease (LSD) เพื่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่  1.ควบคุมการเคลื่อนย้าย  2.เฝ้าระวังการเกิดโรคอย่างใกล้ชิด  3.ป้องกันและควบคุมแมลงพาหะนำโรค  4.รักษาสัตว์ป่วยตามอาการ และ 5. การใช้วัคซีนควบคุมโรค 
                 วันที่ ( 25 พ.ค. 64) สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลาสนองนโยบาย 5 มาตรการสำคัญ เพื่อควบคุมโรคลัมปีสกิน ในโค กระบือ Lumpy Skin Disease (LSD) โดยนายสัตวแพทย์กิติกรณ์ เจนไพบูลย์ ปศุสัตว์จังหวัดสงขลา พร้อมด้วยนายปัญญวัฒน์ เรืองวงศ์โรจน์  ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครองอำเภอจะนะ นายสมศักดิ์ อารมย์ชื่น ปศุสัตว์อำเภอจะนะ นายประชัน ใจประเทือง รักษาการปศุสัตว์อำเภอเทพา และเกษตรกรผู้เลี้ยงโคบ้านแซะ ตำบลสะกอม อำเภอเทพา จำนวน 6 ราย ร่วมรณรงค์ 5 มาตรการสำคัญในการรับมือโรคอุบัติใหม่ โรคลัมปีสกิน (LSD) โดยการสร้างการรับรู้เรื่องการจัดการ ตามแนวทาง 5 มาตรการสำคัญ
             นายสัตวแพทย์กิติกรณ์ เจนไพบูลย์ ปศุสัตว์จังหวัดสงขลา กล่าวว่า โรคลัมปีสกิน ในโค กระบือ Lumpy Skin Disease (LSD) เป็นโรคที่ติดเชื้อในโค กระบือ เกิดจากแมลงดูดเลือดกัด เช่น เห็บ ยุง แมลงวันดูดเลือด ซึ่งจะสัมผัสโดยตรงกับสะเก็ดแพล น้ำมูก น้ำเชื้อ น้ำลาย เมื่อโค กระบือ ติดเชื้อแล้วจะมีอาการเป็นตุ่มแข็ง มีสะเก็ด ต่อมน้ำเหลืองโตนูน ซึ่งตอนนี้กำลังระบาดอยู่ แต่ยังไม่พบในโค กระบือ ในพื้นที่ภาคใต้รวมถึงจังหวัดสงขลา เกษตรกรสามารถป้องกันได้โดยการ กำจัดแมลง ล้างคอก  ฆ่าเชื้อโรคเพื่อป้องกันสัตว์โดนแมลงกัด และแยกสัตว์ที่นำมาเลี้ยงใหม่ออกไปจากสัตว์ที่มีอยู่เดิม จำนวน 14 วัน ซึ่งในช่วงนี้ขอให้งดนำสัตว์เข้ามาใหม่ หากเกษตรกรพบเห็นสัตว์สงสัย ป่วยตายผิดปกติ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ หรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลา โทร 074-315728 
           สำหรับกิจกรรมรณรงค์ 5 มาตรการสำคัญในการรับมือโรคอุบัติใหม่ (LSD) วันนี้ ประกอบด้วยการ การฉีดพ่นยากำจัดพาหะนำโรค และมอบยาฆ่าแมลง ให้เกษตรกร จำนวน 30 ราย การบรรยายสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ เรื่องการจัดการ ตามแนวทาง 5 มาตรการสำคัญ พร้อมเน้นย้ำเกษตรกร ให้ป้องกันโรคโดยใช้สารกำจัดแมลงทั้งบนตัวสัตว์ และบริเวณโดยรอบฟาร์ม เป็นการเตรียมการรับมือ  และสร้างความเชื่อมั่น  หากเกิดโรคระบาด จะไม่สร้างความตื่นตระหนก ให้กับเกษตรกรอีกด้วย 


ฟารีด้า รอดกุบ /ข่าว
จิรพัฒน์ - มัทนา /ภาพ
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา
25 พ.ค.64

 


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar