รมช.ศึกษาธิการ ตรวจเยี่ยมและประชุมหารือการดำเนินงานเตรียมการเปิดภาคเรียนร่วมกับโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสงขลา พร้อมมอบนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ณ โรงเรียนแจ้งวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

             วันนี้ (13 พ.ค.65) ที่โรงเรียนแจ้งวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและประชุมหารือการดำเนินงานเตรียมการเปิดภาคเรียนร่วมกับโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสงขลา โดยมี นางสุรียพรรณ์ ณ สงขลา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายวรณัฏฐ์ หนูรอต รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ตลอดจนส่วนราชการ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสงขลา บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนโรงเรียนแจ้งวิทยา ร่วมให้การต้อนรับ

             สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในฐานะหน่วยงานทางการศึกษา มีภารกิจสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ การกำกับ ดูแล นิเทศ ติดตาม การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ปัจจุบัน สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลามีโรงเรียนเอกชนในกำกับดูแลทั้งจังหวัด จำนวน 570 แห่ง แบ่งออกเป็น โรงเรียนเอกชนในระบบ จำนวน 161 โรง โรงเรียนเอกชนนอกระบบ 4 ประเภท จำนวน 135 โรง ศูนย์การศึกษาอิสลาม ประจำมัสยิด (ตาดีกา) จำนวน 197 ศูนย์ และ สถาบันศึกษาปอเนาะ จำนวน 77 สถาบันและมีสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ จำนวน 4 อำเภอ คือ สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอจะนะ เทพา สะบ้าย้อยและนาทวี จำนวนครูในโรงเรียนเอกชนในระบบ มีทั้งสิ้น 6,646 คน และจำนวนนักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนเอกชนในระบบ มีทั้งสิ้น 83,009 คน จำนวนผู้สอนในโรงเรียนเอกชนนอกระบบ มีทั้งสิ้น 3,871 คน และจำนวนผู้เรียนในโรงเรียนเอกชนนอกระบบ มีทั้งสิ้น 67,451 คน

             ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบาย ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 กำหนดให้ปรับสถานการณ์ พื้นที่ทั่วราชอาณาจักรเป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) 64 จังหวัด และพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว (สีฟ้า) 12 จังหวัด เป็นผลให้สถานศึกษาทุกระดับสามารถใช้อาคารสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเปิดเรียนของภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2565

             กระทรวงศึกษาธิการ จึงมีมาตรการรองรับการเปิดเรียนของภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เพื่อจัดการเรียนการสอนแบบ on site ในสถานการณ์โรคโควิด-19 ตามประกาศกระทรวงศึกษามีหลักสำคัญ คือ 1. ผ่านเกณฑ์ประเมินความพร้อมเปิดเรียน TSC+ 2. เคร่งครัดตามมาตรการ 6-6-7 ได้แก่ 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) , 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) และ 7 มาตรการเข้มสำหรับสถานศึกษา และยังมีหลักเกณฑ์พิจารณาเตรียมการใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา ประเภทที่ 1 โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา ประเภทพักนอน ประเภทที่ 2 โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา ประเภทไป-กลับ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีเป้าหมายให้สามารถปิดการเรียนการสอนแบบ On-site พร้อมกันทุกแห่ง และสร้างความมั่นใจให้แก่นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ที่ส่งบุตรหลานมาเรียนและสร้างความไว้วางใจกลับคืนสู่สังคมอีกครั้ง

             อีกทั้ง ได้เน้นย้ำให้สถานศึกษาทุกสังกัดเตรียมความพร้อม ตามแนวทางการเฝ้าระวังสำหรับการเปิดเรียน On-site ด้วยหลักการ "ตัดความเสี่ยง สร้างภูมิคุ้มกัน" ทุกสถานศึกษาต้องทำการประเมินตนเองในการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดเรียน -นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ประเมินความเสี่ยงตนเองเป็นประจำ ขณะเดียวกัน กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะรณรงค์ให้นักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ไปจนถึงนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้มากที่สุดเพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โควิด-19 ในสถานศึกษาอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ความมั่นใจและความปลอดภัยสำหรับทุกคน

ณิชารีย์ หนูบุญ/ข่าว

วิทยา – จิรพัฒน์/ภาพ

13 พ.ค. 2565

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar