รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เปิดโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมงกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 3 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เปิดโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมงกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 3 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

       วันนี้ (24 มิ.ย.65) ที่โรงเรียนวัดโตนดด้วน ตำบลกระแสสินธุ์ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา นายวงศกร นุ่นชูคันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 3 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 โดยมี นายหวน ทนงาน เกษตรจังหวัดสงขลา นายธงรัฐ ธรรมเจริญ ปลัดอำเภอกระแสสินธุ์ เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษรักษาราชการแทนนายอำเภอกระแสสินธุ์ ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการ นายกเทศมนตรี กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนเข้าร่วมโครงการ

        สำหรับโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฏราชกุมาร จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อให้บริการแก่เกษตรกรและประชาชนในการแก้ไขปัญหาทางการเกษตรได้อย่างเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว 2) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ในการรับทราบปัญหาและแก้ไขปัญหาของประชาชนในพื้นที่ และ 3) เพื่อบูรณาการส่วนราชการต่าง ๆ ได้นำปัญหาที่เกิดขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการแก้ไขต่อไป ทั้งนี้ จังหวัดสงขลา ได้กำหนดจัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไตรมาสที่ 3 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยภายในงานกำหนดให้มีบริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ได้แก่ คลินิกพืช คลินิกดิน คลินิกสัตว์ คลินิกประมง คลินิกบัญชี คลินิกชลประทาน คลินิกสหกรณ์ คลินิกกฎหมาย คลินิกยางพารา คลินิกข้าว คลินิกเกษตรและสหกรณ์ คลินิกอารักขาพืช คลินิกสุขภาพ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งยังมีนิทรรศการวิชาการของหน่วยงานต่าง ๆ อีกด้วย

       อำเภอกระแสสินธุ์ มีครัวเรือนเกษตรกรทั้งหมด 2,906 ครัวเรือน พื้นที่ทั้งหมด 197,344 ไร่ เป็นพื้นที่การเกษตร 42,731 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ ปลูกข้าว 12,043 ไร่ ยางพารา 6,461 ไร่ ปาล์มน้ำมัน 998 ไร่ พืชอื่นๆ 23,229 ไร่ การส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ ได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอกระแสสินธุ์ และเครือข่าย จำนวน 12 แห่ง เพื่อเป็นศูนย์กลางการบริการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานต่าง ๆ กับเกษตรกรในชุมขน โดยการดำเนินการในพื้นที่ของเกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จ สามารถเป็นแบบอย่างให้กับเกษตรกรในชุมชน ในการปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงกิจกรรมการเกษตรที่สำคัญในพื้นที่ ตั้งแต่การผลิต บริหารจัดการ ตลอดจนถึงการตลาด และในด้านการผลิต เน้นยืดในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิต การพัฒนาคุณภาพผลผลิต และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการบริการและการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร และยังขยายศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรเครือข่าย เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้การบริหารและแก้ไขปัญหาให้ทั่วถึง สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

 

ณิชารีย์ หนูบุญ/ข่าว

24 มิ.ย. 2565

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
บทความที่น่าสนใจ