จังหวัดสงขลา รายงานสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนช่วงควบคุมเข้มข้นเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2567 ภายใต้หัวข้อ “ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ” พบเกิดอุบัติเหตุสะสม 61 ครั้ง บาดเจ็บ 66 ราย และเสียชีวิต 6 ราย

จังหวัดสงขลา รายงานสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนช่วงควบคุมเข้มข้นเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2567 ภายใต้หัวข้อ “ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ” พบเกิดอุบัติเหตุสะสม 61 ครั้ง บาดเจ็บ 66 ราย และเสียชีวิต 6 ราย

            วันนี้ (18 เมษายน 2567) ที่ห้องประชุม Conference ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสงขลา นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายเศวต เพชรนุ้ย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นางสาวสุนารี บุญชุบ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา นายแพทย์สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตลอดทั้งปี พร้อมรับฟังการแถลงข่าวสรุปผลการดำเนินการของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2567 โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมฯ ผ่านระบบวีดีทัศน์ทางไกล

            โดยศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2567 ได้รายงานสถิติอุบัติเหตุในรอบ 24 ชั่วโมง ในเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2567 ของช่วงควบคุมเข้มข้น ระหว่างวันที่ 11 - 17 เมษายน 2567 ภายใต้หัวข้อรณรงค์ “ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ” ประจำวันพุธที่ 17 เมษายน 2567 (วันที่เจ็ดของช่วงควบคุมเข้มข้น) เกิดอุบัติเหตุ 224 ครั้ง ผู้บาดเจ็บ 224 ราย เสียชีวิต 28 ราย สรุปอุบัติเหตุภาพรวมในช่วง 7 วัน เกิดอุบัติเหตุรวม 2,044 ครั้ง บาดเจ็บสะสม 2,060 ราย และเสียชีวิตสะสม 287 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย แพร่ และนครศรีธรรมราช ตามลำดับ จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ แพร่ เชียงราย และสงขลา ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย กรุงเทพมหานครและร้อยเอ็ด ตามลำดับ

            ขณะที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดสงขลา (ศปถ.) ได้รายงานข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนสะสมในรอบ 7 วัน ของช่วงควบคุมเข้มข้น พบว่าเกิดอุบัติเหตุสะสม 61 ครั้ง อยู่ในอันดับ 4 ของประเทศ มีผู้บาดเจ็บสะสม 66 ราย อยู่ในอันดับ 3 ของประเทศ และเสียชีวิต 6 ราย อยู่ในอันดับ 14 ของประเทศ ช่วงอายุของผู้ประสบเหตุสูงสุด คือ ช่วงอายุ 50-59 ปี โดยรถจักรยานยนต์ เป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ส่วนถนนที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ ถนนกรมทางหลวง รองลงมาคือถนนใน อบต./หมู่บ้าน ช่วงเวลาที่เกิดเหตุสูงสุด คือ เวลา 12.01 - 15.00 น. อำเภอที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ อำเภอระโนด สะบ้าย้อย และเมืองสงขลา ส่วนอำเภอที่มีอุบัติเหตุ/ผู้บาดเจ็บเป็นศูนย์ คือ อำเภอสะเดา

         ด้านสถานีตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา ได้รายงานผลการจับกุมตามมาตรการ 10 ข้อหาหลัก (10 รสขม) ช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2567 ระหว่างวันที่ 11 - 17 เมษายน 2567 จำนวนผู้ถูกดำเนินคดี (คน) บันทึก PTM (Police Ticket Management) รวมทั้งสิ้น 2,649 ราย โดย “ไม่มีใบขับขี่” ถูกดำเนินคดีถึง 1,348 ราย รองลงมา คือ “ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร” 400 ราย และ “ไม่สวมหมวกนิรภัย” 205 ราย อย่างไรก็ตามทางผู้แทนผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา ได้เสนอให้มีการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ในการทำใบขับขี่ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่มีอายุถึงเกณฑ์ที่สามารถมีใบอนุญาตขับขี่ได้ ถือเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้องและเพื่อส่งเสริมให้เกิดเป็นวัฒนธรรมในการขับขี่อย่างปลอดภัย

ณิชารีย์ หนูบุญ/ข่าว

ทีปรกร จันทร์ชนะ/ภาพ

18 เมษายน 2567

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
บทความที่น่าสนใจ