ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา มอบโล่เกียรติคุณแก่ชุมชนดีเด่น ในการดำเนินงาน “ชุมชนล้อมรักษ์ จังหวัดสงขลา” เพื่อสร้างเสริมกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน

ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา มอบโล่เกียรติคุณแก่ชุมชนดีเด่น ในการดำเนินงาน “ชุมชนล้อมรักษ์ จังหวัดสงขลา” เพื่อสร้างเสริมกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน

          บ่ายวันนี้ (22 เมษายน 2567) เวลา 14.00 น. ที่โรงแรมสยามออเรียนทัล หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานมอบโล่เกียรติคุณแก่ชุมชนดีเด่น จังหวัดสงขลา ที่ผ่านการคัดเลือก ในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการบำบัดยาเสพติด โดยชุมชนมีส่วนร่วม (CBTx) ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา โดยมี นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอหาดใหญ่ นายกู้ศักดิ์ บำรุงเสนา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา พันตำรวจเอกพิชัย กิระวานิช รองผู้บังคับการภูธรจังหวัดสงขลา นายแพทย์ธนูรัตน์ พุทธชาติ รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ โรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา ผอ.รัชนีวรรณ พนุหนิการ ผอ.ส่วนยุทธศาสตร์และอำนวยการ สสส.ภาค 9 ร่วมเป็นคณะกรรมการคัดเลือก

          ด้วยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ได้ดำเนินการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการบำบัดยาเสพติด โดยชุมชนมีส่วนร่วม (CBTX) และคัดเลือกชุมชนล้อมรักษ์ จังหวัดสงขลา ประจำปี 2567 เพื่อถอดบทเรียนของการดำเนินงานที่ผ่านมาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาทีม พัฒนาคน และนำมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของพื้นที่ให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี และคัดเลือกชุมชนต้นแบบในการดำเนินงานชุมชนล้อมรักษ์ จังหวัดสงขลา เพื่อสร้างเสริมกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน และชุมชนที่ได้ทุ่มเท แรงกายแรงใจในการดูแลบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดให้กลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุขในสังคม โดยกำหนดให้มีการนำเสนอชุมชนล้อมรักษ์ ทั้ง 16 อำเภอของจังหวัดสงขลา และสถานีตำรวจภูธรอำเภอหาดใหญ่ เพื่อคัดเลือกชุมชนดีเด่น จังหวัดสงขลา ประจำปี 2567

         โดยผลการคัดเลือกชุมชนล้อมรักษ์ จังหวัดสงขลา ประจำปี 2567 อันดับ 1 ได้แก่ ชุมชนล้อมรักษ์อำเภอเมืองสงขลา อันดับ 2 ได้แก่ ชุมชนล้อมรักษ์อำเภอคลองหอยโข่ง และอันดับ 3 ได้แก่ ชุมชนล้อมรักษ์อำเภอเทพา โอกาสนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้ให้เกียรติเป็นประธานมอบโล่และเงินรางวัลแก่ชุมชนที่ชนะการคัดเลือกตามลำดับ

        ที่ผ่านมา จังหวัดสงขลาได้ดำเนินการคัดเลือกให้ “พะตงโมเดล” อำเภอหาดใหญ่เป็นพื้นที่นำร่องการบำบัดรักษา และฟื้นฟู ผู้ใช้ยาเสพติดภายในชุมชุม โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในตำบลพะตงทุกภาคส่วน ทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน อปท. สาธารณสุข อสม. สถานีตำรวจภูธร ประชาชน โรงงานอุตสาหกรรม เข้ามาร่วมออกแบบกระบวนการร่วมกัน โดยการวิเคราะห์ SWOT ANALYSIS ที่พบว่า ความสำเร็จของการบำบัดเกิดจากการสมัครใจเข้าบำบัดการติดตามเยี่ยมบ้านจากทีมงานที่ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อปท. สถานีตำรวจภูธร และ อสม. ผู้ดูแล อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต และออกแบบวิธีการดำเนินงาน 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ค้นหา จุดเน้น คือ การสร้างความเข้าใจ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสมัครใจบำบัด ผ่านระบบโทรศัพท์ และจูงใจโดยทีมหากไม่สมัครใจ 2) คัดกรอง ตามแนวทาง เพื่อแบ่งแยกการรักษาทั้งแบบปกติ (V2) แบบจิตเวชฉุกเฉินจากการใช้สารเสพติด ด้วย 5 สัญญาณเตือน (SMI-V) 3) รักษา ด้วยวิธี FAMILY TREE (ความสัมพันธ์ 3 ชั้นภูมิ) SELF HEALTH-GROUP (เพื่อนช่วยเพื่อน) และ ACCEPTANCE COMMITMENT THERAPY (ACT) การยอมรับและพันธะสัญญา 4) ติดตาม เยี่ยมบ้านเสริมพลังด้วย “บัดดี้ 4 สหาย” 16 ทีม ทีมละ 4 คน และ 5) ฟื้นฟูสภาพ สร้างกระบวนการเพื่อเปลี่ยนผ่านตนเองโดยธรรมชาติบำบัดแนวนิเวศภาวนาศูนย์ฟื้นฟูอาชีพ การศึกษา

ณิชารีย์ หนูบุญ/ข่าว

ทีปรกร จันทร์ชนะ/ภาพ

22 เมษายน 2567

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
บทความที่น่าสนใจ